โครงการพัฒนาครูเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชีวศึกษา
ฝึกอบรมอีเลินนิ่ง  ด้วย โปรแกรม Moodle e-Learning
วิทยาลัยสารพัดช่างน่าน

 

1.  หน่วยงานรับผิดชอบ วิทยาลัยสารพัดช่างน่าน

2.  สถานภาพโครงการ       โครงการวิจัยรูปแบบการพัฒนาครูแกนนำเครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศด้านอาชีวศึกษา

3.  ระยะเวลาดำเนินการ     วันที่  19 กุมภาพันธ์  2549  ถึง วันที่ 30  เมษายน  2549

4.  หลักการและเหตุผล

                         ครูอาชีวศึกษา มีความรู้ความสามารถอยู่มากมายทั่วแผ่นดิน   แผ่นดินนี้ไม่สิ้นคนดี อาชีวศึกษาจะเจริญก้าวหน้าเพราะครูดี ๆ ไม่ท้อแท้   รูปแบบครูแกนนำและครูเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ไม่ใช่โครงการสร้างแม่ไก่ไปออกไข่แล้วฟักลูกไก่     แต่เป็นโครงการเฟ้นหาพญาอินทรีแห่งอาชีวศึกษา   ขยายปีกกางกงเล็บแสดงศักยภาพในฐานะครูเครือข่าย    สร้างเครือข่ายองค์ความรู้ให้กว้างขวาง เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้เป็นไปตามนโยบายของ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  

แนวคิดรูปแบบครูเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

·       คัดเลือกจากครูอาชีวศึกษาทั้งจังหวัดน่านไม่จำกัดสาขาวิชา

·       คัดเลือกจากครูดี ๆ ของอาชีวศึกษาที่ยังไม่ท้อแท้และเต็มใจพัฒนา

·       คัดเลือกครูอาชีวศึกษาที่จะช่วยเพื่อนครูด้วยกันโดยอาศัยวิทยาลัยเป็นฐานการพัฒนา

·       ครูที่ทุกฝ่ายยอมรับและผู้บริหารมีวิสัยทัศน์สนับสนุนการพัฒนา

·       พัฒนาครูที่มีความสามารถเป็นเลิศ  เติมเต็มศักยภาพที่ขาดหาย  ให้เป็นครูแกนนำและครูเครือข่าย

·       ขยายเครือข่ายตามความต้องการแท้จริงของครูอาชีวศึกษาทั้งจังหวัดน่าน

ภารกิจครูเครือข่าย

ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการระหว่างวันที่  20 มีนาคม 2549  ถึง วันที่ 22 ตุลาคม 2549  และ 28 มีนาคม 2549 ถึง 30 มีนาคม 2549  จะต้องนำหลักสูตรรายวิชาพร้อมเนื้อหารายวิชา อย่างน้อยท่านละ 1 รายวิชา และ คอมพิวเตอร์โน้ตบุค (ถ้ามี) มาในวันอบรม    โครงการฝึกอบรมอีเลินนิ่ง  ด้วย Moodle e-Learning  เป็นการพัฒนาบุคลากรโดยใช้วิทยาลัยเป็นฐาน (School-Based Management)  ไม่พึ่งพาแต่ส่วนกลางเท่านั้น และเป็นการแสดงศักยภาพของครูแกนนำในการวางแผนล่วงหน้าที่จะขยายผล

                                                                                                                   

สิทธิประโยชน์ของผู้ได้รับคัดเลือกเป็นครูเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.     ผู้สมัครเข้ารับการอบรม Learning Management System  โปรแกรม Moodle  3  วัน

2.     ผู้สมัครเมื่อผ่านเกณฑ์ประเมินจะได้รับเกียรติบัตรจากชมรม Moodle ประเทศไทย

3.     ผู้สมัครได้รับคัดเลือกเมื่อผ่านเกณฑ์ประเมิน ให้เป็นครูเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

4.      ผู้สมัครได้พื้นที่จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอน e-Learning  แบบ LMS ฟรี  3 ปี

5.      เอกสารประกอบการอบรมสำหรับครูแกนนำและครูเครือข่ายที่ไปขยายผล

6.      เว็บไซต์ e-Learning  ที่สร้างขึ้นจัดเป็นผลงานทางวิชาการ

7.      ผู้สมัครได้เป็นครูเครือข่ายระดับกรมอาชีวศึกษา

8.      ผลงานเพื่อขอเลื่อนขั้นในการพิจารณาเงินเดือน

9.     เกียรติประวัติและการยอมรับนับถือ

10.   เพื่อนใหม่และคนในวงการเดียวกัน

11.   ความท้าทายใหม่

12.   การเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ สำหรับลูกศิษย์

 

5.      วัตถุประสงค์

·       เพื่อคัดเลือกครูเครือข่าย ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน

·       จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอน e-Learning  แบบ LMS ด้วยโปรแกรม Moodle

·       เพื่อปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน การเรียนการสอนแบบใหม่ๆ สำหรับลูกศิษย์

·       เพื่อช่วยเสริมให้การเรียนการสอนแบบเดิม ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

·       เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายของสื่อการเรียนการสอนทั้งของผู้สอน และผู้เรียน

·       เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ทั้งเนื้อหาการเรียนรู้ แต่ละวิชา และแผนการสอน แผนการเรียนของวิทยาลัย ในอนาคตต่อไป

6.      เป้าหมาย

6.1    เชิงปริมาณ

·       ครูเครือข่าย ของ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน จำนวน 40 คน

6.2    เชิงคุณภาพ

·       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพครูเครือข่ายนำไปใช้ช่วยในด้านการเรียนการสอนให้กับลูกศิษย์

7.      สนองนโยบายหรือยุทธศาสตร์

ตามนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปี2549 ซึ่งเป็นปีการปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน

 

8.      สถานะและความพร้อมของโครงการ

การเข้ารับการอบรมครูแกนนำ 3 วัน

·       โครงการกำหนดเนื้อหาอบรมขยายเครือข่ายให้ทั้งหมด

·       วิทยาลัยสารพัดช่างน่าน สนับสนุนวิทยากร

·       วิทยาลัยเทคนิคน่าน สนับสนุนสถานที่ ห้องอบรม เครื่องคอมพิวเตอร์

 

9.      แผนการดำเนินงาน

กิจกรรมโครงการ

ปีงบประมาณ 2549

กุมภาพันธ์

มีนาคม

เมษายน

19-28

1-19

20-22

23-27

28-30

1-30

9.1  ส่วนที่ 1   ขั้นเตรียมการ

9.1.1  ติดตั้งโปรแกรม Moodle  กำหนดรูปแบบการเรียนการสอน  e-Learning  และกำหนดสร้างเนื้อหาการอบรม ของ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน

 

 

 

 

 

 

9.1.2  ประชาสัมพันธ์ บอกถึงรายละเอียดของการอบรม กับ ครูและในที่ประชุม ของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดน่าน ทุกสถาบัน  พร้อมทั้งจัดทำใบสมัคร และ ให้สมัครสมาชิกทางเว็ป http://nan.vecict.net/ และ http://202.143.131.242/vorapot เพื่อทดสอบการสื่อสารกับโปรแกรมในเบื้องต้น

 

 

 

 

 

 

9.2  ส่วนที่ 2    ขั้น การอบรม

9.2.1  ดำเนินการอบรม อีเลินนิ่ง ด้วย โปรแกรม Moodle  รุ่น 1

 

 

 

 

 

 

9.2.2  ดำเนินการอบรม อีเลินนิ่ง ด้วย โปรแกรม Moodle  รุ่น 2

 

 

 

 

 

 

9.3  ส่วนที่ 3    ขั้น การติดตามผลและประเมินผล

9.3.1  ประเมินผลภายในวิทยาลัยเทคนิคน่าน

 

 

 

 

 

 

9.3.2  ประเมินผลภายในวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน

10.  งบประมาณ

           -

11.  การติดตามผลและประเมินผล

·       ประเมินผลภายในวิทยาลัยเทคนิคน่าน

·       ประเมินผลภายในวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน

 

12.  วิทยากร ผู้อบรม

วรพจน์     ธราวรรณ    

ครูแกนนำโครงการ Intel Teach to the Future

ครูแกนนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 

13.  ผู้เขียนและเสนอโครงการ

 

  

        ตำแหน่ง  ครู คศ 2

 

14.  ผู้เห็นชอบโครงการ

                                                                       

                      

                                              ตำแหน่ง   รองผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน

 

15.  ผู้อนุมัติโครงการ

ความเห็น……………………………………………………………………

 

               

                                   ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการสถานศึกษา รักษาการในตำแหน่ง

                                                    ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน