ความเป็นมาของหลักสูตร ปวช.เทียบโอนสะสมหน่วยกิต ของ พระ - เณร

       วิทยาลัยสารพัดช่างน่านได้เปิดหลักสูตรปวช . เทียบโอนสะสม หน่วยกิต ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะ ศึกษา ที่ต้องการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ช่วยเหลือคนที่ไม่มี งานทำ หรือคนที่ตกงานและเปิดโอกาสให้คนที่ไม่มีวุฒิมาเทียบ โอนประสบการณ์ โดยใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช . เทียบโอนสะสมหน่วยกิต พุทธศักราช ๒๕๓๘ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ วิทยาลัยสารพัดช่างน่านได้ร่วมกับโรงเรียนนันทบุรี วิทยา เปิดการเรียนการสอนอาชีพระยะสั้น และหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพปวช . เทียบโอนสะสมหน่วยกิต ให้ พระภิกษุสามเณร เพื่อสนองพระราชดำรัสของ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่าในคราวเสด็จ พระราชดำเนินทรงเปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ ๒๕ และทอดพระเนตรนิทรรศการโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการในวันศุกร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๐ ว่า “ ทำไมให้พระเรียนแต่สามัญอย่างเดียว ทำไมไม่ให้เรียน วิชาชีพ ”

       วิทยาลัยสารพัดช่างน่าน ได้เปิดสอนหลักสูตรปวช . เทียบโอนสะสมหน่วยกิตตั้งแต่นั้นมา ส่วนใหญ่ผู้เรียนก็จะเป็นนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ . – ม . มาเรียนวิชาชีพอย่างเดียวส่วน วิชาสามัญนักเรียนจะนำผลการเรียนหลังจากจบชั้น . มาเทียบโอนกับหลักสูตรปวช . และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการสอนเทียบโอน ผู้ที่มาเรียนจะเรียนวิชาชีพตั้งแต่เวลา ๑๗ . ๐๐ . จนถึง ๒๐ . ๐๐ . ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในกรณีที่วิชาที่เปิดสอนเวลาไม่พอจะมีการเพิ่มเวลาเรียนในวันเสาร์ วันอาทิตย์ ซึ่งเป็นการลงทะเบียนแบบเหมาจ่าย หลังจาก นักเรียน เรียนวิชาชีพครบหลักสูตรปวช . ทางวิทยาลัยฯ ก็จะออกผลการเรียนในส่วนของวิชาชีพและเมื่อนักเรียนจบ . ก็นำผลการเรียนวิชาสามัญมาเทียบโอนเข้ากับวิชาสามัญ หลักสูตร ปวช . เพื่อที่จะได้หลักสูตรปวช . ที่สมบูรณ์ และออกใบ รบ . ให้ เมื่อนักเรียนจบจะได้รับวุฒิ วุฒิ คือ . ฉบับ กับ สายอาชีพวุฒิ ปวช . อีก ฉบับ

 

โครงการจัดหลักสูตร ปวช. เทียบโอนสะสมหน่วยกิต ให้กับพระ - เณร